แพทย์เผยอุทาหรณ์ สาวเกือบเสียดวงตา เพราะจับราวบันไดเลื่อน ที่สถานีรถไฟฟ้า

คอมเมนต์:

โหห อันตรายกว่าที่คิดมาก ๆ เลยนะคะ

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

        สื่อต่างประเทศรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้มีคุณหมอท่านหนึ่ง ออกมาเปิดเผยเคสที่น่าสนใจ เกี่ยวกับพื้นที่ที่สกปรกและอาจมีการแพร่เชื้อโรคได้ง่าย เพราะเขาได้พบกับคนไข้หญิงคนหนึ่ง ที่จู่ ๆ ก็ตื่นขึ้นมาพบว่าตัวเองตาบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ

        แม้ว่า "การขนส่งมวลชน" จะเป็นหนึ่งในวิธีการเดินทางที่คนทำงานทั่วไปส่วนใหญ่ต้องใช้ทุกวัน แต่บางสถานที่ที่ดูเหมือนจะปลอดภัย ความจริงแล้วกลับเป็นแหล่งซุกซ่อนเชื้อโรคที่ดีนั่นเอง

 

Sponsored Ad

 

ภาพจากรายการ

        มีหญิงวัย 30 ปีคนหนึ่ง ตื่นเช้าขึ้นมามีอาการตาขวาบวมโดยไม่รู้สาเหตุ เมื่อไปหาหมอก็ตรวจพบว่า เป็นอาการของ “โรคงูสวัดขึ้นตา” หากรุนแรงกว่านี้อาจจะทำให้ตาบอดได้เลย แต่คุณหมอบอกว่า แม้ว่าในความเป็นจริงหญิงคนนี้และคนในครอบครัวเครือญาติไม่มีใครมีประวัติเคยเป็นโ ร ค นี้มาก่อนก็ตาม  แล้วเธอเป็น โ ร ค นี้ได้อย่างไร? 

 

Sponsored Ad

 

(เป็นเพียงภาพประกอบเนื้อหาเท่านั้น)

        หลังจากที่หมอถามคำถามมากมายก็พบว่า หญิงคนนี้มีนิสัยชอบจับราวบันไดเลื่อนทุกครั้งที่ใช้ จากนั้นก็เอามือมาขยี้ตาโดยไม่ได้ล้างมือ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการ ติดเชื้อในครั้งนี้ก็เป็นได้  

        ศัลยแพทย์ที่มีชื่อเสียง เฉินหยงเจี้ยน ชาวไต้หวันได้ แบ่งปันกรณีนี้ให้ได้ทราบ และเตือนผู้ใช้การคมนาคมสื่อสารมวลชนว่า “จากการทำการสำรวจในหลายปีที่ผ่านมาพบว่า จุดที่ทำความสะอาดได้ยากคือ ราวจับบันไดเลื่อน ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค อันดับ 1 ไม่ว่าจะเป็นที่โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า และอื่นๆ”

 

Sponsored Ad

 

(เป็นเพียงภาพประกอบเนื้อหาเท่านั้น)

        ฉะนั้นหากสัมผัสราวบันไดเลื่อนก็ควรทำความสะอาดมือทุกครั้ง และอีกที่หนึ่งก็คือ บนรถเมล์ก็เป็นอีกถานที่ที่มักละเลยในการทำความสะอาดอย่างทั่วถึง

 

Sponsored Ad

 

(เป็นเพียงภาพประกอบเนื้อหาเท่านั้น)

เกร็ดความรู้

        "โรคงูสวัด (Herpes zoster)" เกิดจากเชื้อไวรัส VZV ซึ่งเชื้อไวรัสจะหลบซ่อนอยู่ตามประสาทใต้ผิวหนังหลังจากเป็นอีสุกอีใสและแฝงตัวอย่างสงบเป็นเวลานานหลายปีจนถึงสิบ ๆ ปี รอจนวันที่ร่างกายของเราอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น อายุมาก เครียด อดนอน ติดเชื้อเอชไอวี หรือเป็นมะเร็ง เชื้อที่แฝงตัวอยู่นั้นก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และกระจายในปมประสาท ทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดอาการปวด และเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวตามแนวเส้นประสาท

 

Sponsored Ad

 

        งูสวัดขึ้นตา เกิดจากไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงดวงตาและผิวหนังบริเวณรอบดวงตา พบได้ประมาณ 15% ของคนที่เป็นงูสวัดทั้งหมด การที่มีผื่นงูสวัดขึ้นที่บริเวณปลายจมูก จะเป็นสัญญาณว่ามีโอกาสสูงที่ไวรัสจะกระจายเข้าไปในดวงตาด้วย

        ถ้าเชื้อไวรัสติดเชื้อเข้าสู่ดวงตา จะทำให้เกิดอาการเหล่านี้

 

Sponsored Ad

 

        - ผื่นบริเวณเปลือกตา

        - ตาแดง

        - กระจกตาการอักเสบ

        - ตามัว

        - ตาสู้แสงไม่ได้

        - ปวดตา

        - ตาบวม

        ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก ๆ อาจทำให้กระจกตาเป็นแผลถาวรหรือกระจกตาทะลุได้ หรืออาจจะทำให้เกิดม่านตาอักเสบ จอประสาทตาบวม ความดันลูกตาสูงจนเป็นต้อหิน หรือเป็นต้อกระจกได้ในระยะยาว อาการทางตาที่รุนแรงเหล่านี้อาจจะพบได้ไม่บ่อย แต่สามารถส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นไปบางส่วนหรือตาบอดได้

Sponsored Ad

การรักษาโรคงูสวัด

        - สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรืองูสวัดขึ้นที่บริเวณหน้า หรือมีอาการปวดรุนแรง แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดทาน ภายใน 2-3 วัน หลังเกิดอาการ เพื่อลดความรุนแรง และช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น รวมทั้งช่วยลดอการปวดแสบ ปวดร้อนในภายหลังได้

        - สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เป็นโรคเอดส์ หรือเป็นชนิดแพร่กระจายทั้งตัว แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล

        - สำหรับผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดขึ้นที่ตา ควรรักษากับจักษุแพทย์ ซึ่งแพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดทานและหยอดตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา

        แต่ยาที่ใช้จะไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ แต่จะทำให้การอักเสบสงบลง และเชื้อไวรัสจะกลับไปฝังตัวอยู่ที่ปมประสาทเหมือนเดิม ถ้าร่างกายมีภาวะอ่อนแอก็กลับมาเป็นอีกได้

        ซึ่งระยะหวังผลการรักษาให้หายมีอยู่แค่ 3 วันเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ การตรวจเจอแต่เนิ่น ๆ ถ้าบริเวณที่เจ็บนั้นมีตุ่มพองขึ้นในบริเวณเดียวกัน ต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ยิ่งตรวจพบเจอเร็วก็สามารถใช้ยาต้านทานไวรัสไว้ได้ อาการเจ็บหลังเกิดโรคนั้นก็จะเกิดขึ้นได้ยาก

การดูแลรักษาด้วยตัวเอง

        1. ในระยะเป็นตุ่มน้ำใส ให้รักษาแผลให้สะอาด โดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่น ๆ หรือกรดบอริค 3 % ปิดประคบไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วชุปเปลี่ยนใหม่ ทำวันละ 3-4 ครั้ง

        2. ในระยะตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่จะเข้าสู่แผลได้ ควรล้างแผลด้วยน้ำเกลือสะอาด แล้วปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ

        3. ถ้าปวดแผลมาก สามารถทานยาแก้ปวดได้

        4. ไม่ควรใช้เล็บแกะเกาตุ่มงูสวัด เพราะอาจทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กลายเป็นตุ่มหนอง แผลหายช้า และ กลายเป็นแผลเป็นได้

        5. การรับประทานอาหาร สามารถรับประทานได้ทุกอย่างโดยไม่มีข้อห้าม

        6. ไม่ควรเป่าหรือพ่นยาลงบนแผล เพราะจะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน แผลหายช้าและกลายเป็นแผลเป็นได้

วิธีป้องกันงูสวัด

        พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่นในผู้ป่วยที่เป็นงูสวัด โดยเฉพาะคนไข้ที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส ในบางรายอาจจะใช้การฉีดวัคซีนได้

ชมคลิปเพิ่มเติม 

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ที่มา : news.tvbs | เรียบเรียงโดย ป๋าเถิก เปิดกรุ

บทความที่คุณอาจสนใจ