ครูเกษียณใช้เวลา 10 ปี สร้างบ้านดิน ที่ออกแบบเอง อากาศร้อนแค่ไหน ด้านในก็เย็นสบาย

คอมเมนต์:

ตอนแรกมันดูไร้ค่าในสายตาคนอื่น แต่ทุกวันนี้ทุกคนกลับอิจฉาเขา

      เมื่อไม่นานมานี้เว็บไซต์ต่างประเทศได้รายงานว่า He Juxian เป็นชาวไทเป เขาเป็นครูที่เกษียณอายุแล้ว เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เขาสร้างบ้านดินหน้าตาประหลาดใกล้ชายหาด บ้านรูปทรงโค้งไม่ต้องลงเสาเข็ม ไม่ต้องติดแอร์ หน้าร้อนเย็น หน้าหนาวอุ่น แถมยังต้านทานพายุระดับ 17 และแผ่นดินไหว 8 ริกเตอร์ได้

      ปี 2011 He Juxian เข้าร่วมการแข่งขัน Green Building ครั้งแรกของไต้หวัน

 

Sponsored Ad

 

      เขาผู้ไม่เคยเรียนเรื่องโครงสร้าง กลับสามารถเอาชนะโตโย อิโต สถาปนิกชื่อดังชาวญี่ปุ่น ได้รางวันที่ 1 มาครอง เพื่อที่จะส่งเสริมแนวความคิดในการปกป้องสิ่งแวดล้อมของตัวเอง   

 

Sponsored Ad

 

      He Juxian จะเก็บขยะริมชายหาดทุกวัน เอาโฟมและทุ่นลอยมาประดิษฐ์เป็นงานศิลปะ และยังไปแบ่งบันความรู้ที่โรงเรียนเป็นประจำ “ทุกสิ่งที่ผมทำ ก็เพื่อคนรุ่นต่อไป”

      ผมชื่อ He Juxian เมื่อก่อนเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ ตอนนี้เกษียณแล้ว ตัวผมจบปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมสมุทรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ชอบทะเล และชอบสิ่งก่อสร้าง หวังว่าสักวันนึงตัวเองจะมีบ้านริมทะเล

      สมัยก่อนตอนยังอยู่ไทเป (เมืองหลวงของไต้หวัน) เวลาว่างๆ ก็จะมาเที่ยวทะเลประจำ และก็ต้องเห็นขยะมากมายถูกทิ้งตามชายหาด ทำให้เต่าทะเลไม่น้อยตายไป

 

Sponsored Ad

 

      ผมสอนหนังสือมา 30 ปี ผมรู้สึกว่าในฐานะครู ผมไม่ควรสอนแค่เลข แต่ควรสอนแนวคิดเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนด้วย

 

Sponsored Ad

 

      ผมตัดสินใจปลูกบ้านสุดพิเศษ บ้านที่ไม่กระทบต่อคุณภาพชีวิต ไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ ไม่ต้องใช้พัดลม ไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่มีดวงไฟ ก็สามารถใช้ชีวิตอย่างสบายได้

      เพื่อที่จะสร้างบ้านหลังนี้ แค่การหาข้อมูลก็ใช้เวลาถึง 3 ปี วางแผนอีก 3 ปี ก่อนจะสร้างบ้าน ผมใช้เวลา 6 ปีในการเตรียมตัว แล้วในที่สุดก็ตัดสินใจซื้อที่ดินทางตอนเหนือติดชายหาด

 

Sponsored Ad

 

      ปกติจะใช้บ้านนี้เป็นห้องทำงาน ผมจะเอาขยะที่เก็บได้จากทะเลมาทำเป็นงานศิลปะ และข้างๆบ้านผมก็ปลูกผักให้คนที่บ้านกิน

      ปี 2011 ตอนนั้นพอมีโอกาส ผมก็เอาบ้านหลังนี้มาทำเป็นโปรเจค เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน Green Building ครั้งแรกของไต้หวัน

 

Sponsored Ad

 

      ตอนนั้นมีสถาปนิกดังๆมากมายเข้าร่วมการแข่งขัน หนึ่งในนั้นคือ โตโย อิโต สถาปนิกชื่อดังชาวญี่ปุ่น นึกไม่ถึงว่าสุดท้ายแล้วคนที่ไม่มีความเคยเรียนเรื่องการออกแบบอย่างผม จะได้รางวัลที่ 1 ซึ่งทำให้ผมยิ่งมั่นใจกับสิ่งที่ผมกำลังทำมากยิ่งขึ้น

      บ้านผมมีชื่อว่า 「Do Good House」 ที่เลือกชื่อนี้ก็เพราะหวังว่าจะสามารถทำสิ่งดีๆมีความหมายในบ้านหลังนี้

Sponsored Ad

      บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ริมทะเล ต้องเผชิญกับอุณหภูมิแย่ๆ ความชื้น ความเค็ม แถมข้างๆยังมีถนนที่รถยนต์วิ่งผ่านทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ

      ในบ้านมีห้องรับแขก ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องเก็บของ ดูไม่มีอะไรพิเศษ แต่ซ่อนการออกแบบสุดพิเศษเอาไว้

1. บ้านทรงโค้ง

      ผมทำหลังคาบ้านเป็นทรงโค้ง โดยคิดตามหลักคณิตศาสตร์ ตัวบ้านไม่มีเสาเข็ม และไม่ต้องใช้เหล็กเส้น แต่มีความแข็งแรงยิ่งกว่าเสริมเหล็ก

ช่วงออกแบบบ้าน

โมเดลบ้าน

      มันแข็งแรงมาก คุณเคยเห็นกระท่อมน้ำแข็งที่ชาวเอสกิโมอาศัยมั้ย มันสามารถป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติได้

      บ้านหลังนี้สร้างเสร็จปี 2008 ถึงตอนนี้ก็ 10 แล้ว เคยผ่านพายุไต้ฝุ่นความแรงระดับ 17 และรับแผ่นดินไหวรุนแรงได้ถึง 8 ริกเตอร์

2. บ้านดิน

      วัสดุที่ผมใช้คือดิน ดินเป็นวัสดุกันความร้อนที่ดี บ้านทั่วไปใช้ซีเมนต์ ซึ่งไม่กันความร้อน ทำให้ในฤดูร้อนอุณหภูมิในห้องจะสูง ใครๆก็ต้องเปิดแอร์

      วัสดุที่ผมเอามาสร้าง ก็สามารถป้องกันความร้อนได้ส่วนหนึ่งแล้ว ทำให้อุณหภูมิภายในห้องจะต่ำลง

3. ให้ลมพัดผ่านในทิศทางที่ “ถูกต้อง”

      ในบ้านผมไม่ติดแอร์ แต่ในบ้านผมฤดูหนาวอุ่นฤดูร้อนเย็น อุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 26 องศา เพียงแค่คุณติดหน้าต่างในทิศทางที่ถูกต้อง ลมก็จะพัดตลอด ทำให้บ้านเย็นเอง

      ด้านล่างของตัวบ้าน ผมทำช่องลมไว้อยู่หลายช่อง ด้านบนของตัวบ้านก็เช่นกัน ลมร้อนจะลอยขึ้นด้านบน ลมเย็นจะลอยลง เพราะงั้นด้านล่างลมเย็นจะเข้ามา และอากาศร้อนๆก็จะออกไปทางด้านบน ยิ่งอุณหภูมิสูง ก็ยิ่งไหลเร็ว

      ในฤดูร้อนที่ไต้หวันเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ หน้าหนาวเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะงั้นหน้าต่างบ้านผมจะหันทางตะวันตกเฉียงใต้ แค่นี้ลมในฤดูร้อนก็จะพัดเข้ามา แต่พอถึงฤดูหนาวลมก็จะพัดเข้ามาไม่ได้

4. ใช้กระเบื้องปูพื้นเพื่อลดความชื้น

      บ้านอยู่ติดทะเล ในห้องจะชื้นมาก แต่ผมไม่เคยรู้สึกร้อนชื้นเลย ในบ้านไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องดูดความชื้น

      ในฤดูร้อนที่เรารู้สึกร้อนชื้นก็เพราะว่าในอากาศมีไอน้ำ กระเบื้องปูพื้นที่ผมเลือกผมเลือกแบบไม่เคลือบ ตัวกระเบื้องมีรูอากาศ มันจะดูดไอน้ำในอากาศไป แล้วพอลมพัดเข้ามาทางหน้าต่างก็จะเย็นสบาย เหมือนมีเครื่องดูดความชื้นตามธรรมชาติ

5. แสงธรรมชาติ

      แม้ว่าจะฝนตก ในบ้านก็ไม่ต้องเปิดไฟ บนเพดานบ้านผมมีหลังคาที่ให้แสงผ่านได้ เหมือนเปิดไฟยังไงยังงั้น

      แน่นอนว่าถ้าแดดเข้ามาทั้งหมดก็จะไหม้ แสบตา ใต้เพดานผมจึงทำเหมือนมีอีกชั้นนึง

      ซึ่งชั้นนี้จะช่วยป้องกันแสงไม่ให้เข้ามาได้ส่วนหนึ่ง บวกกับส่วนที่เว้าๆนูนๆก็จะทำให้แสงสะท้อนออกไป ทำให้แสงแดดอ่อนละมุน พื้นที่อ่านหนังสือก็จะค่อนข้างสว่าง และอยู่ริมหน้าต่าง ส่วนพื้นที่พักผ่อนก็จะมืดลงมาหน่อย

      เวลาว่างๆ ผมก็จะไปที่ชายหาด มีอยู่ช่วงหนึ่ง ผมเหมือนคนทำงาน ตอนเช้าก็ไปเก็บขยะริมชายหาด เก็บถึงตอนเย็น 4-5 โมง พอลมเย็นๆพัดมาผมก็รู้แล้วว่าถึงเวลา “เลิกงาน” แล้ว

      ขยะที่เห็นบ่อยตามชายหาดก็จะมี : โฟม ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ทุ่นลอยที่เรือใช้ เอ็นตกปลา และอื่นๆ บ่อยครั้งที่ผมเห็นเต่าทะเลได้รับบาดเจ็บเพราะขยะพวกนี้ จนถึงเสียชีวิตก็มี

.

.

.

      ผมอยากทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่อย่างนั้นขยะบนชายหาดก็ยังคงเป็นขยะอยู่อย่างนั้น ต่อมาผมก็เลยเอาทุ่นลูกลอยขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างมาทำเป็นงานศิลปะที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันเช่น โคมไฟ นาฬิกา ลำโพงและอื่นๆ

.

      แม้ว่าตอนนี้ผมจะเกษียณแล้ว แต่ผมก็ยังกลับไปที่โรงเรียนเป็นประจำ เพื่อแบ่งปันแนวคิดเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อม สอนเด็ก ๆ ให้ปลูกดอกไม้ปลูกผัก และสอนเด็ก ๆ ว่าจะใช้ขยะให้เกิดประโยชน์อย่างไร

      ผมยังได้พัฒนาแนวคิด "สวนเมือง" ด้วยตัวเอง โดยใช้ประโยชน์จากกล่องโฟม เอามาทำเป็นที่ปลูกผักโดยไม่ต้องรดน้ำ

      เงินบำนาญของครูเกษียณอายุไม่มาก ตอนนี้ผมก็ไม่กล้าให้ภรรยารู้ว่าใช้เงินเท่าไหร่ในการสร้างบ้านหลังนี้ โชคดีที่ภรรยาก็เข้าใจความคิดของผม เธอพูดเล่นๆว่า บ้านหลังนี้เป็น “ภาระอันหอมหวานของพวกเรา”

      แนวคิดของบ้านหลังนี้ สามารถเอาไปปลูกที่ไหนก็ได้  ผมหวังว่าบ้านของผมจะสร้างแรงบันดาลใจคนอื่น ทำให้เกิดสิ่งปลูกสร้างที่เข้ากับธรรมชาติอีกมากมาย เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมของเราดีขึ้น

แปลและเรียบเรียงโดย LIEKR

บทความที่คุณอาจสนใจ