ไขข้อข้องใจ บุคคลที่ยืนข้างพระขนอง "รัชกาลที่ 10" สวมปลอกแขนสีน้ำเงินเข้ม ทำหน้าที่สำคัญยิ่ง

คอมเมนต์:

ไขข้อข้องใจ บุคคลที่ยืนข้างพระขนอง "รัชกาลที่ 10" สวมปลอกแขนสีน้ำเงินเข้ม แท้จริงแล้วทำหน้าที่สำคัญยิ่ง!

        กลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ชาวโซเชียลให้ความสนใจ หลังมีผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อว่า "Amnith Tantasuparuk" ได้โพสต์รูปภาพลงในกลุ่มเวียงวังและคลังประวัติศาสตร์ ขอความรู้ว่า บุคคลที่สมชุดขาว ยืนอยู่ทางด้านหลัง (พระขนอง) ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 คือใคร 

        โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวระบุข้อความว่า "ขอความรู้ค่ะ เห็นภาพข่าววันนี้ไม่ทราบว่าทหารที่ยืนข้างหลังสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวมปลอกแขนซ้ายสีดำ คืออะไรคะ"

โพสต์ดังกล่าว

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อภาพดังกล่าวได้เผยแพร่ลงสู่โลกโซเชียล ก็ได้มีผู้คนมาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก หลายคนให้ข้อมูลว่า ปลอกแขนดังกล่าวสามารถแบ่งตามสีได้สองประเภท คือ 1. ปลอกแขนราชองครักษ์ และ 2. ปลอกแขนสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ

 

Sponsored Ad

 

        แท้จริงแล้วทั้ง 4 ท่านนั้นคือ รองสมุหราชองครักษ์ โดย กรมราชองครักษ์ (Royal Thai Aide-De-Camp Department) นั้นเป็นหน่วยงานส่วนราชการในพระองค์ สังกัดหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ มีหน้าที่จัดราชองครักษ์ปฏิบัติหน้าที่ ถวายพระเกียรติ ถวายความปลอดภัย และ ถวายงานตามพระราชประสงค์

        สำหรับประวัติของ กรมราชองครักษ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มให้มีราชองครักษ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ ในคราวเสด็จประพาสประเทศสิงคโปร์และปัตตาเวีย (อินโดนีเซีย) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลโทพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช (ขณะนั้นดำรงพระยศ นายร้อยเอก พระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์) ตามเสด็จฯ ซึ่งนับเป็น “ราชองครักษ์” พระองค์แรก

 

Sponsored Ad

 

        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกนายทหารรักษาพระองค์เหล่านี้ว่า “ราช-แอด-เดอ-แกมป์” ซึ่งคัดเลือกมาจากกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาเมื่อตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้นเมื่อ วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเป็น “แอด-เดอ-แกมป์หลวง” และไปขึ้นการปกครองบังคับบัญชากับผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเป็น “ราชองครักษ์” สืบมาจนปัจจุบัน

        ในปี พ.ศ. ๑๔๔๑ (ร.ศ.๑๑๗) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการสำหรับราชองครักษ์ให้เป็นหลักฐานมั่นคง ด้วยการตรา “พระราชบัญญัติราชองครักษ์ ร.ศ.๑๑๗” ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๔๔๑ โดยในมาตรา ๖ ระบุข้อความว่า “สมุหราชองครักษ์กับทั้งราชองครักษ์ประจำการพวกนี้ นับเป็นกรมหนึ่ง ขึ้นอยู่ใน กรมยุทธนาธิการ” กรมราชองครักษ์จึงถือเอา วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๑ นี้ เป็นวันกำเนิดกรมราชองครักษ์ ซึ่งมีสมุหราชองครักษ์ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

 

Sponsored Ad

 

        ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ และมีพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดให้มี “กรมราชองครักษ์” โอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์ สังกัดหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

 

Sponsored Ad

 

        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ที่จะต้องมีราชองครักษ์ไว้ปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณโดยใกล้ชิด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือก นายทหารรักษาพระองค์มาจากกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

        ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริเปลี่ยนแปลงแก้ไขความใน พระราชบัญญัติเดิมโดยตราเป็นพระราชบัญญัติราชองครักษ์ พ.ศ. ๒๔๕๙ ซึ่งจากเดิมที่กำหนดให้เฉพาะนายทหารบก เป็นราชองครักษ์เท่านั้นได้โปรดเกล้าฯให้นายทหารเรือ เข้ารับราชการเป็นราชองครักษ์ด้วยและสมุหราชองครักษ์มีสิทธิขาดในการนำความเข้ากราบบังคมทูลต่อพระมหากษัตริย์ได้โดยตรง บางคราวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งนายตำรวจภูธรและนายตำรวจนครบาลเป็นราชองครักษ์เป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ในพระราชบัญญัติ ซึ่งนับเป็นกำเนิดของตำรวจราชสำนักเวร

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงระเบียบการเกี่ยวกับราชองครักษ์บางอย่างที่สำคัญ คือ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ราชองครักษ์แต่เดิมในรัชกาลก่อนคงเป็นราชองครักษ์ของพระองค์สืบต่อไปและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้ “ปลอกแขน” เป็นเครื่องหมายแสดงว่าเป็นราชองครักษ์ขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำพระองค์

Sponsored Ad

        วิวัฒนาการราชองครักษ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาเป็นลำดับเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละรัชกาล ซึ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลปัจจุบันได้มีกฎระเบียบและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับราชองครักษ์ดังนี้ คือ ได้จำแนกราชองครักษ์ออกเป็น ๓ ประเภท คือ

        - ราชองครักษ์พิเศษ เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรและต้องปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ ในบางโอกาสตามพระราชประเพณี

        - ราชองครักษ์เวร แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรประจำการ และคงรับราชการตามตำแหน่งเดิม มีหน้าที่ประจำ ตามเสด็จรักษาการณ์และปฏิบัติกิจการอื่นในส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์

        - ราชองครักษ์ประจำ แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรประจำการ และเข้ารับราชการประจำในกรมราชองครักษ์ มีหน้าที่ปฏิบัติกิจการในส่วนองค์พระมหากษัตริย์แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ภาระกิจหลัก

        ราชองครักษ์ทุกคนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง ณ ที่ประทับ รวมทั้งการเสด็จฯ แปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักในต่างจังหวัด เพื่อทรงงานและเยี่ยมเยียนราษฏรในทุกพื้นที่ของประเทศ
        กรมราชองครักษ์มีหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยราชองครักษ์และกฎหมายว่าด้วยตำรวจราชสำนัก ได้แก่ การถวายความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พระราชประสงค์และราชประเพณี โดยสรุปก็คือ การถวายความปลอดภัยและการถวายพระเกียรติ

ความคิดเห็นชาวเน็ต

ความคิดเห็นชาวเน็ต

ข้อมูลและภาพจาก welovemyking

บทความที่คุณอาจสนใจ