"ทหารไทยหนึ่งเดียว" ที่ทัพอเมริกายกย่อง ไม่มีชื่ออยู่ในตำราประวัติศาสตร์ ทว่ามีทูตมาเคารพถึงประเทศไทย

คอมเมนต์:

อีกหนึ่งคนไทยที่อาจไม่เป็นที่รู้จัก ไม่มีชื่ออยู่ในตำราประวัติศาสตร์แต่ท่านกลับสร้างวีรกรรมไว้จนต่างชาติยังต้องยอมรับ และแสดงความชื่นชม

    อดีตทหารไทยผู้กล้า ในสงครามเวียดนามที่กองทัพสหรัฐฯ มอบเหรียญกล้าหาญ Silver Star ทหารต่างชาติเพียงคนเดียวที่ถูกแขวนรูปถ่ายไว้ที่ Hall of Hero's เปิดตำนานวีรกรรม "พ.อ. ชัยชาญ หาญนาวี"

    เมื่อครั้ง เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้มีการออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อการเสียบุคคลสำคัญ ในครอบครัวคนไทยครอบครัวหนึ่ง บุคคลคนนั้นคือ พันเอก ชัยชาญ หาญนาวี ข้อความในแถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า "ในนามของสหรัฐอเมริกา ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัว ญาติมิตร และสหายผู้เคยร่วมรบของพันเอก ชัยชาญ หาญนาวี ในการถึงแก่กรรมของท่านเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ที่จังหวัดลพบุรี"

 

Sponsored Ad

 

 

    พันเอก "ชิพ" ชัยชาญ เป็นทหารรบพิเศษแห่งกองทัพไทย ผู้ตกเป็นเชลยศึกที่ถูกคุมขังยาวนานที่สุดที่เรือนจำฮัวโล หรืออีกชื่อคือ "ฮานอยฮิลตัน" ในกรุงฮานอย เมื่อช่วงสงครามเวียดนาม นานกว่า 10 ปี และเป็นเชลยศึกผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันกับวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ จอห์น แมกเคน, พลเรือเอก เจมส์ สตอกเดล และเหล่าทหารผู้กล้าอีกหลายนาย ซึ่งต่อมาท่านได้รับเหรียญกล้าหาญซิลเวอร์สตาร์ และเครื่องอิสริยาภรณ์ ลีเจียนออฟเมอริต จากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติและความกล้าหาญของท่านที่ได้ช่วยเหลือเชลยศึกชาวอเมริกันมากมายที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำ

 

Sponsored Ad

 

    โดยเจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันที่ประจำอยู่ที่ประเทศไทยต่างรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รู้จักกับพันเอก ชัยชาญ ท่านเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ ถ่อมตน และเฉลียวฉลาดเป็นอย่างยิ่ง ดังคำกล่าวของผู้แต่งที่ไม่ปรากฏนามซึ่งอธิบายช่วงชีวิตของทหารกล้าผู้นี้ได้เป็นอย่างดีว่า "ผู้ที่กล้าหาญเผชิญได้แม้ความตาย แต่ผู้ที่อยู่กับความหวาดกลัวก็เปรียบเสมือนใช้ชีวิตอย่างสูญเปล่า"

    ประวัติของ พันเอก ชัยชาญ หาญนาวี นั้นเกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้ารับราชการทหารตำแหน่งทหารพลร่มของกองรบพิเศษที่ 1 ค่ายวชิราลงกรณ์ จังหวัดลพบุรี และได้ถูกส่งไปรบในลาวเป็นพลวิทยุ

 

Sponsored Ad

 

    จากนั้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2508 มีนักบินอเมริกันกลุ่ม Air America ชวนพันเอก ชัยชาญ ไปเป็น Spotter เดินทางโดยเครื่องบินจากเชียงลมไปส่งเสบียงตามฐานในลาว ปรากฏว่าถูกยิงเครื่องตก ทหารในเครื่องไม่มีใครรอด เหลือเพียงท่านกับนักบิน แม้พยายามหลบหนีแต่สุดท้ายถูกจับได้ ถูกนำไปขังที่ค่ายเดียนเบียนฟู ซึ่งคนไทยรู้จักดีจากภาพยนตร์ "แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู"

          โดยถูกซ้อมอย่างหนัก อย่างทารุณและโหดร้าย ถูกจับใส่ขื่อคาอยู่นานถึง 2 ปี 10 เดือน ต้องนอนแช่อุจจาระแช่ปัสสาวะของตัวเอง ได้อาบน้ำเดือนละครั้ง ไม่ได้พูดไม่ได้คุยกับใครเป็นเวลาถึง 5 ปี เนื่องจากถูกขังเดี่ยว และสุดท้ายต้องถูกเข้าห้องมืดอีก 6 เดือน แต่เขาผ่านมันมาได้ด้วยจิตใจอันเด็ดเดี่ยว ด้วยเกียรติของชายชาติทหาร ความกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่ง        

 

Sponsored Ad

 

          หลังจากนั้นถูกส่งไปที่ค่ายในฮานอย 1 ปี ได้รับหน้าที่เป็นคนทำความสะอาด จึงทำให้ได้พบปะเชลยศึกคนอื่น จนไปเจอเชลยนักบินเวียดนามใต้ แต่ยังสื่อสารไม่รู้เรื่อง ต้องใช้ภาษามือกัน จนกระทั่งท่านเรียนรู้ภาษาได้บ้าง นายทหารเวียดนามก็ให้ท่านช่วยแอบขโมยกระดาษ ดินสอ ส่งกระดาษรหัสลับติดต่อกับเชลยศึกคนอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากก็เป็นทหารอเมริกัน และแอบแบ่งอาหารให้เชลยคนอื่น โดยมีการสอน Tap Code ให้ท่าน และก็พยายามศึกษาภาษาอังกฤษจนใช้สื่อสารได้ การกระทำของท่านเสี่ยงต่อชีวิตมากเพราะถ้าโดนจับได้ตายสถานเดียว

 

Sponsored Ad

 

           กระทั่งรัฐบาลอเมริกันเจรจากับเวียดนามเหนือ เรื่องให้ปล่อยตัวเชลยศึกจากคุกฮานอยฮิลตัน การเจรจาเป็นผลสำเร็จ เวียดนามจึงได้ปล่อยเชลยศึกกลับบ้าน แต่พันเอก ชัยชาญ ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว แต่ถูกส่งไปที่ Pho Yen ซึ่งมีเชลยศึกทหารไทยอยู่ 216 นาย ในระหว่างที่อยู่ที่นั่นถูกทรมานทารุณหนัก เพราะเวียดนามเหนือต้องการให้ท่านเกลี้ยกล่อมเชลยศึกไทยให้เป็นคอมมิวนิสต์ แต่ท่านไม่ยอม


 

Sponsored Ad

 

          หลายเดือนต่อมา อดีตเชลยศึกชาวอเมริกันที่ท่านช่วยไว้ก็ได้มีการถามไถ่กันว่ามีข่าวคราวว่า พันเอก ชัยชาญ ไปอยู่ไหน เป็นอย่างไรบ้าง แต่ไม่มีใครรู้ พวกเขาจึงรวมตัวกันไปร้องเรียนต่อรัฐบาลอเมริกาให้ช่วยตามหา สุดท้ายหาเจอและนำไปสู่การเจรจากันระหว่างอเมริกา ไทย และเวียดนามเหนือ ให้ปล่อยเชลยศึกทหารไทย

          สุดท้าย พันเอก ชัยชาญ จึงได้รับการปล่อยตัว หลังจากที่ถูกกักขังเป็นเวลา 9 ปี 4 เดือน 8 วัน นับเป็นเชลยศึกที่ถูกกักขังนานที่สุดในสงครามเวียดนาม แต่ทว่าเมื่อกลับมาถึงไทย ท่านก็ต้องพบเหตุการณ์หักมุมครั้งใหญ่ของชีวิต เมื่อพบว่าภรรยานั้นได้มีสามีใหม่ไปแล้ว และได้รับพระราชทานยศชั้นนายพัน เนื่องจากกองทัพไทยคิดว่าน่าจะเสียชีวิตไปในสงครามแล้ว แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ได้กลับมารับราชการเหมือนเดิม ไม่มีใครกล้าถอดยศพระราชทาน

Sponsored Ad

          จากนั้นอดีตเชลยศึกอเมริกัน นำโดย นาวาอากาศเอก Flynn ผู้บังคับบัญชา Lackland Air Force Base ได้เรียนเชิญท่านไปอเมริกาเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อเป็นการตอบแทนวีรกรรม โดยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาได้มอบเหรียญกล้าหาญชั้น Silver Star (รองจากเหรียญกล้าหาญชั้นสูงชั้นเดียว) จัดพิธีสวนสนามกองทหารเกียรติยศ รวมทั้งได้จัดให้แขวนรูปถ่ายของท่านไว้ที่ Pentagon ใน Pentagon's Hall of Heroes จะมีที่เรียกว่า Hall of Hero's ซึ่งมีรูปถ่ายของทหารที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษแขวนไว้ ถือเป็นการเทิดทูนเกียรติอย่างสูงสุด และท่านเป็นทหารต่างชาติเพียงคนเดียวที่ได้รับเกียรติอันสูงส่งนี้ และยังได้เข้าเรียนที่ฐานทัพ Lackland Air Force Base เป็นเวลา 10 เดือน และได้ไปเรียนต่อที่ศูนย์สงครามพิเศษ Fort Bragg ทางด้านสงครามจิตวิทยาอีก 7 เดือน


          แต่ทว่าเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 พันเอก ชัยชาญ ป่วยเนื่องจากเส้นเลือดใหญ่ในสมองอุดตัน และเข้ารักษาที่โรงพยาบาล ก่อนจะเสียชีวิตอย่างสงบในเวลา 23.45 น. ของวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ในวัย 87 ปี

          ต่อมา ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 พันเอก แลร์รี่ เรดมอน ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบกสหรัฐอเมริกา สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ก็ได้เข้าร่วมพิธีสวดพระอภิธรรมศพ พันเอก ชัยชาญ หาญนาวี ที่จังหวัดลพบุรี โดยพันเอก เรดมอน ได้มอบจดหมายแสดงความเสียใจจากเอกอัครราชทูตเดวีส์ ให้แก่คุณรัชนียากร บุตรสาวของพันเอก ชัยชาญ เพื่อสดุดีความเก่งกาจ และกล้าหาญ แก่อีกหนึ่งนายทหารผู้สร้างตำนานจนได้รับการยกย่อง และยอมรับอย่างจริงใจจากประเทศสหรัฐอเมริกา

ที่มา : usembassy | kapook

บทความที่คุณอาจสนใจ