อดีตช่างไฟไร้งานทำเพราะ "เป็นผู้หญิง" ทั้งที่จบสูง สู่ "ธิดาเข็นผัก" ขวัญใจตลาดศรีเมือง

คอมเมนต์:

"...คนเรามันไม่จำเป็นต้องทำงานหรูๆ อยู่ในห้องแอร์สบายๆ ขอแค่ไม่หมิ่นเงินน้อย ทำงานแบบไหนก็ได้ที่ตอบโจทย์ชีวิตเรา"

        การไม่ได้รับการไว้วางใจให้ทำงานเพราะเป็นผู้หญิง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในทุกสายงาน ทว่าอุปสรรคเหล่านี้กลับไม่ได้บั่นทอนกำลังใจของ สาวน้อยวัย 22 ปีคนนี้เลยแม้แต่น้อย ทั้งๆ ที่จบสูงมีความรู้ระดับอนุปริญญาเรื่องไฟฟ้า

        “เค้ก-ณณัฐ ปุญญ์ชีวา” สาวน้อยปวส.แผนกช่างไฟ ถูกปฏิเสธทำงานในฐานะช่างไฟฟ้าทุกที่ที่สมัครงาน แต่เธอไม่ท้อและเกี่ยงงาน สู้ลุกยืนอย่างแข็งแกร่งเลือกสร้างรายได้ด้วยการเข็นผักในตลาดผักและผลไม้ เวลาต่อมาใครๆ ที่พบเห็นต่างทึ่งและยกเธอให้เป็นขวัญใจแห่งตลาดศรีเมือง ตลาดกลางผักและผลไม้ จ.ราชบุรี กระนั้นไม่สำคัญเท่ากับประสบการณ์นอกตำราที่สอนให้รู้เรื่องการใช้ชีวิตในแนวทางตัวเอง

 

Sponsored Ad

 

        “มันเหมือนเป็นทางผ่านหลายๆ อย่างเพื่อให้เราเก็บประสบการณ์และก้าวไปได้ไกลกว่านี้ คือคนเรามันไม่จำเป็นต้องทำงานหรูๆ อยู่ในห้องแอร์สบายๆ ทำงานแบบไหนก็ได้ที่ตอบโจทย์ชีวิตเรา” ธิดารถเข็นผักกล่าวเริ่มต้น

        “แรกๆ น้อยใจ จบปวส.ช่างไฟฟ้ามา แต่พอเราไปสมัครงานตำแหน่งช่างไฟฟ้า แต่ทุกที่จะให้ไปทำในตำแหน่งอื่น ถามว่าทำไมถึงเลือกเรียนช่างไฟ มันเกิดจากสังเกตเห็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเสียบ่อยมาก คนอื่นๆ ก็น่าจะประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ฉะนั้นช่างไฟฟ้าน่าจะเป็นอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการ เราก็เลยเลือกด้านนี้ และพอจบมาก็อยากทำงานให้ตรงสาย”

 

Sponsored Ad

 

        เค้กบอกว่าพอได้งานไม่ตรงสายก็ทำให้เปลี่ยนงานบ่อย จากสาเหตุไม่ชอบและเงินเดือนก็ได้น้อยกว่าทำงานตรงสายตัวเองหากได้รับการยอมรับ

        “ไปทำยูทูปพักหนึ่งเพราะเบื่อระบบ คิดว่างานอิสระน่าจะช่วยเราได้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ แม่เห็นเราบ่นก็แนะนำให้มาทำงานเข็นผัก ก็คิดสักพักเพราะรู้สึกอาย แต่พอได้มาทำเรากลับสนุกและไม่อาย ทำให้คิดได้ทุกอย่างมันมีปัญหาหมดในตัว แรกๆ เราอาจจะคิดว่ามันเป็นปัญหา แต่ถ้าไม่เลือกเป็นปัญหามันก็เป็นทางออกได้”

 

Sponsored Ad

 

        ขวัญใจรถเข็นผักบอกงานที่ทำแม้หลายคนมองว่าด้อยศักดิ์ศรี แต่สร้างรายได้อย่างงามให้เธออย่างงามตกชั่วโมงละ 100 บาท เลยทีเดียว ในการเข็นรถในตลาดศรีเมือง ตลาดกลางผักและผลไม้ จ.ราชบุรี ที่จะมีทั้งลูกค้ารายใหญ่และลูกค้ารายย่อยสลับหมุนเวียนใช้บริการตลอด ตั้งแต่ตี 3 ถึง 12.00 น.

        “รายย่อยเที่ยวหนึ่งที่เข็น ได้ 10-20 บาท ต่อการขน 100 กิโลกรัม ส่วนรายใหญ่เหมาคันรถ ขน 2-3 ตันต่อคัน ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ราคา 300 บาท ” เค้กบอกว่านอกจากรายได้ที่ดีสำหรับเธอตลอดระยะเวลา 7 เดือน ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมที่เริ่มทำงาน การประกอบอาชีพเข็นผักยังสอนให้เธอเติบโตขึ้น ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของเธอคือเรื่องการลดทิฐิไม่เกี่ยงงานที่เงินน้อย

 

Sponsored Ad

 

        “เมื่อก่อนแค่ 9 ไม่เอา 10 ไม่เอา มองว่าเงินน้อย” เธอกล่าวไทม์ไลน์ที่เคลื่อนไปข้างหน้าเช่นเดียวกับล้อรถเข็นผักที่มุ่งสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งพอไม่มีอคติหมิ่นเงินน้อยทำให้เธอค่อยๆ รู้จักค่าของเงิน ก็รู้จักกินรู้จักใช้และไม่มีอะไรน้อยค่า  

        “สำคัญที่เราทำงานหาเลี้ยงครอบครัวได้และสามารถทำให้ต่อยอดได้ มันเหมือนเป็นทางผ่านหลายๆ อย่างเพื่อให้เราเก็บประสบการณ์และก้าวไปได้ไกลกว่านี้ คือคนเรามันไม่จำเป็นต้องทำงานหรูๆ อยู่ในห้องแอร์สบายๆ ทำงานแบบไหนก็ได้ที่ตอบโจทย์ชีวิตเรา”

 

Sponsored Ad

 

        เค้กบอกว่าปัจจุบันนอกจากงานเข็นผักแล้ว เธอยังรับสอนพิเศษเด็กๆ ประถมในวิชาคำนวณในวันเสาร์และอาทิตย์ เป็นรายได้เสริมเพื่อเก็บเป็นทุนสร้างอนาคตในวันข้างหน้าและทุนการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

        “ไม่เลือกทำสิ่งที่ไม่เบียดเบียนเราจนเกินไปได้ มันจะทำให้เราทุกข์และไม่มีความสุข แต่ถ้าลองวางและลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคย งานแต่ละงานมันก็สอนเราคนละแบบไม่ว่าจะมากจะน้อย คิดเล่นๆ ถ้าจะต่อยอดตอนนี้ทำธุรกิจ เรารู้จักคนมากขึ้นทั้งพ่อค้าแม่ค้าทั้งตลาด คอนเนกชั่นเราดี ก็เป็นสิ่งที่ดีในการทำธุรกิจ”

 

Sponsored Ad

 

        ทั้งนี้อย่างไรก็ตามใครที่กำลังท้อแท้ ชีวิตไม่เป็นดังหวังหรือประสบกับปัญหาตกงาน เธอขอให้สู้และลองลงมือทำและพอทำแล้วจะพบทางที่เราอาจจะไม่เคยรู้เลยก็ได้ว่าเหมาะกับเราหรือจะพาเราไปต่อได้อีกขั้น

        “ไม่ว่างานอะไรอย่าได้ดูถูก ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำก็ได้ แบบเดียวกับไม่เลือกงานไม่ยากจน อย่างเค้กตอนนี้ก็สุขภาพดีแข็งแรงมาก (ยิ้ม) นี้คิดแบบง่ายๆ เลย คือมันอยู่ที่จะเลือกเปิดรับมุมไหน” ธิดารถเข็นผักกล่าวทิ้งท้าย

.

ข้อมูลและภาพจาก posttoday

บทความที่คุณอาจสนใจ