"ทนายอั๋น" ยื่นดีเอสไอ สอบเส้นทางการเงิน "ทนายตั้ม" บริษัทขาดทุน แต่ใช้ชีวิตหรูหรา
คอมเมนต์:
กลายเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมาก สำหรับ เรื่องราวของ "ทนายตั้ม" หลังโดน "ทนายอั๋น" เดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียน ต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ DSI สอบเส้นทางการเงินของ "ทนายตั้ม" ทั้งที่งบบริษัทดุลขาดทุนสะสมมาหลายปี
ทนายภัทรพงศ์ หรือ ทนายอั๋น ได้เดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ DSI เพื่อตรวจสอบเส้นทางการเงินของ นายษิทรา หรือทนายตั้ม เนื่องจากพบว่า งบดุลบริษัท Sittra Law Firm มีงบดุลขาดทุนสะสมมาหลายปี ซึ่งไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของทนายตั้มและครอบครัวที่ใช้ชีวิตอย่างหรูหราอย่างมาก
Sponsored Ad
โดยทนายอั๋นได้นำหนังสือพร้อมหลักฐาน เป็นภาพการใช้ชีวิตหรูหรา สวมใส่เสื้อผ้าและกระเป๋าแบรนด์เนม ไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่ถูกโพสต์ลงสาธารณะผ่านเฟซบุ๊กของทนายตั้ม รวมถึงเอกสารบัญชีงบดุลของบริษัทที่สืบค้นจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ขาดทุนตลอด 4 ปี ที่ผ่านมา มาเป็นหลักฐานให้กับดีเอสไอ
Sponsored Ad
ทนายอั๋น เปิดเผยว่า ตามเอกสารบัญชีในเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าตั้งแต่ปี 2561-2564 พบว่าขาดทุนสะสมทุกปี รวม 470,000 บาท ซึ่งไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตหรูหรา อยู่สบายของทนายตั้ม ที่มีทั้งทำตัวไฮโซ มีรถหรู มีคฤหาสน์ราคา 60 ล้าน ซื้อสินค้าแบรนด์เนมครั้งละหลายล้านบาทที่ต่างประเทศ สะสมนาฬิกายี่ห้อดังมูลค่าหลายล้านบาทเช่นกัน
ทำให้ตนเองเกิดข้อสงสัยว่า ทนายตั้มมีรายได้พิเศษจากทางใดอีกหรือไม่ นอกเหนือจากรายได้บริษัท รวมถึงการแสดงงบดุลรายได้รายจ่ายของบริษัทที่ส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่
Sponsored Ad
ดังนั้น จึงอยากให้ DSI ตรวจสอบเส้นทางการเงินของทนายษิทรา ทั้งรายได้บริษัท Sittra Law Firm จำกัด ,รายได้ส่วนตัว และรายได้จากมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ ของทนายตั้ม ทั้ง 3 แหล่งว่าสอดคล้องกันหรือไม่ เข้าลักษณะร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ หรือมีรายได้จากช่องทางใดที่ผิดกฎหมายหรือไม่
Sponsored Ad
พร้อมยืนยันว่า ไม่กังวลหากทนายตั้มจะฟ้องกลับและแม้ว่าจะยังไม่มีความผิดมูลฐานที่ ปปง. จะรับเรื่อง แต่การมายื่นกับ DSI ครั้งนี้ ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ซึ่งหาก DSI ไม่พบความผิดปกติ ก็จะเป็นผลดีกับทนายตั้มเอง แต่หากพบรายได้ที่ผิดปกติ ก็จะเป็นผลดีต่อสังคม พร้อมขอให้สังคมจับตาดูงบดุลบริษัทปี 2565 ของ Sittra Law Firm ที่จะมีการยื่นภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ว่าจะขาดทุนเช่นเดิม
หรือมีเงิน 200-300 ล้านบาทปรากฎเข้ามาในบริษัท และถ้าหากมี ก็อยากทราบว่าเงินดังกล่าวมีที่มาอย่างไร ส่วนกรณีข้อสงสัยว่าจะทนายตั้มจะมีเงินสีเทาตามที่นายชูวิทย์ออกมาเปิดเผยก่อนหน้านี้หรือไม่ ตนไม่ทราบ ขอให้ไปสอบถามนายชูวิทย์เองจะดีที่สุด
Sponsored Ad
ส่วนกรณีที่ทนายตั้มระบุว่าเรียกรับเงิน 300,000 บาท เป็นค่าเสี่ยงภัยในการแถลงข่าว เนื่องจากอาจจะถูกฟ้องนั้น ทนายอั๋นกล่าวว่า การที่ทนายตั้มบอกว่ามีค่าเสี่ยงภัย แสดงว่าสิ่งที่ทนายตั้มทำนั้น เป็นสิ่งผิดกฎหมายหรือไม่ และทนายตั้มกำลังนำลูกความไปทำสิ่งผิดกฎหมายถึงต้องเสี่ยงภัยหรือไม่ เพราะตนเองยังแถลงข่าวได้โดยไม่ต้องเกรงกลัวใด ๆ หากเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย
Sponsored Ad
ดังนั้น การที่ทนายตั้มเรียกรับเงินเช่นนี้ จะเข้าข่ายผิดมรรยาททนายความหรือไม่ ซึ่งเมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา ตนได้เดินทางไปยื่นให้คณะกรรมการมรรยาททนายความ สภาทนายความ ตรวจสอบการกระทำของ ทนายตั้มแล้ว ซึ่งต้องใช้เวลาติดตามความคืบหน้าสักพัก โดยตนจะโทรไปตรวจสอบความคืบหน้ากับสภาทนายความทุกสัปดาห์
ส่วนกรณีสลิปโอนเงิน 500,000 บาทที่มีกระแสข่าวว่าแฟนคลับลุงพลจากต่างประเทศโอนเงินเข้ามูลนิธิของทนายตั้มนั้น ทนายอั๋นระบุว่า จากหลักฐานที่ตนเองมี ประกอบที่ลุงพลออกมายอมรับผ่านรายการโทรทัศน์แห่งหนึ่ง ก็ยืนยันได้ว่าแฟนคลับลุงพลมีการโอนเงินจริงในค่าช่วยเหลือคดี จากตอนแรก 3 ล้านบาท ต่อรองเหลือ 2 ล้านบาท แต่มีการโอนจริงในเงินก้อนนี้เท่าไหร่ตนและลุงพลยังไม่ทราบยอด
Sponsored Ad
ส่วนเงิน 500,000 บาท ที่ตนออกมาเปิดเผยนั้น ก็เป็นค่าให้ทนายตั้มเดินทางลงพื้นที่บ้านกกกอก ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน แต่ย้ำว่า ทนายตั้มเรียกรับเงินจริงจากคำพูดของลุงพล สวนทางกับที่ทนายตั้มกล่าวอ้างว่าตนไม่ได้เงินสักบาทจากคดีลุงพล
ที่มา : tnews.teenee